บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2010

โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่

รูปภาพ
ความเป็นมา ในทุกครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศนั้นได้ทรงถามเกษตรกรและทอดพระเนตรพบสภาพปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการปลูกข้าวและเกิดแรงดลพระทัยอันเป็นแนวคิดขึ้นว่า 1. ข้าวเป็นพืชที่แข็งแกร่งมาก หากได้น้ำเพียงพอจะสามารถเพิ่มเมล็ดข้าวได้มากยิ่งขึ้น 2. หากเก็บน้ำในที่ตกลงมาได้แล้ว นำมาใช้ในการเพาะปลูกก็จะสามารถเก็บเกี่ยวได้มากขึ้นเช่นกัน 3. การสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่นับวันแต่จะยากที่จะดำเนินการได้ เนื่องจากการขยายตัวของชุมชนและ ข้อจำกัดของปริมาณที่ดินเป็นอุปสรรค 4. หากแต่ละครัวเรือนมีสระนำประจำไร่นาทุกครัวเรือนแล้ว เมื่อรวมปริมาณกันก็ย่อมเท่ากับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ แต่สิ้นค่าใช้จ่ายน้อยและเกิดประโยชน์สูงสุดโดยตรงมากกว่า ที่มาแห่งพระราชดำริ “ ทฤษฎีใหม่ ” แรงดลพระราชหฤทัยในเรื่องนี้เกิดจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรใน ภาคอีสาน บริเวณพื้นที่บ้านกุตตอแก่น ตำบลกุตสิมคุ้มใหญ่ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธิ์ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 ซึ่งทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระราชดำรัสแก่บรรดาคณะบุคคลต่าง

โครงการพระราชดำริฝนหลวง

รูปภาพ
ที่ มาโครงการพระราชดำริฝนหลวง "... แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้มี มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้... " โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจาก พระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภคและเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ กล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปกติหรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝน จากพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอนับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ จนตราบเท่าทุกวันนี้ ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้ง ได้ทวีความถี่ และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ เพราะนอกจากความผันแปรและคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติแล้ว การตัดไม้ทำลายป่า ยังเป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร ในทุกภาคของประเทศ ทำความเสียหายแก่เศรษฐกิจโดย

โครงการธนาคารข้าว

รูปภาพ
เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศบริเวณพื้นที่ชายแดนภาคเหนือของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันและเป็นท้องถิ่นทุรกันดาร ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร และบ่อยครั้งที่ต้องประสบภัยทางธรรมชาติ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหายอยู่เสมอ ทำให้ราษฎรต้องขาดแคลนข้าวเพื่อบริโภค พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้ทรงรับทราบและทรงมีความห่วงใยพสกนิกร ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติเป็นอย่างยิ่งพระองค์ทรงมีพระราชดำริในชั้นต้น เพื่อหาแนวทางที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรเหล่านั้น จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้รีบดำเนินการช่วยเหลือโดย การจัดตั้งโครงการธนาคารข้าวขึ้นในหมู่บ้านที่ประสบภัยดังกล่าวขึ้น วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง - เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ - เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรที่ประสบทุพภิกขภัยในถิ่นทุรกันดาร - เพื่อให้ราษฎรผู้ประสบภัยมีข้าวพอเพียงต่อการบริโภคตลอดปี - เพื่อป้องกันผู้ฉวยโอกาสที่จะเข้าแสวงหาผลประโยชน์อันไม่เป็นธรรมแก่ราษฎรผู้ประสบภัยซึ่งยากจนและขาดแคลนข้าวเพื่อบริโภค - เพื่อเป็นพื้นฐานให้ราษฎรได้เข้าใจหลักการเบื้องต้นของร

หญ้าแฝก

รูปภาพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงการพังทลายของดินและการสูญเสียหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริให้ศึกษา “ หญ้าแฝก ”และนำมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ รวมทั้งใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา จากการศึกษาวิจัยหญ้าแฝกมีความก้าวหน้าเป็นอย่างดี ทำให้ประเทศไทยได้รับเกียรติจัดสัมมนาหญ้าแฝกระดับนานาชาติ(International Conference on Vetiver) เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2539 เพื่อให้นักวิชาการมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหญ้าแฝก และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปี ต่อมาอีก 4 ปี ประเทศไทยได้รับเกียรติจัดสัมมนานานาชาติ ในหัวข้อ “ หญ้าแฝกกับสิ่งแวดล้อม ” (Vetiver and The Environment) ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 18-19 มกราคม 2543 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุ 72 พรรษา สำหรับการประชุมครั้งที่ 3 จะมีขึ้นที่เมืองกวางเจา มลรัฐกวางตุ้ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 18-22 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ในปัจจุบันได้มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมากกว่า 30 หน่วยงาน ร่วมดำเน

เครื่องดักหมอก

รูปภาพ
แนวคิดการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำในบรรยากาศ "เครื่องดักหมอก" เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร แนวคิดการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำในบรรยากาศ ?เครื่องดักหมอก? เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากหมอกที่ล่องลอยในอากาศว่าหมอกสามารถกลายเป็นหยดน้ำหล่อเลี้ยงต้นไม้ได้ เช่น ในกรณีหมอกปลิวมากระทบก้อนหินแล้วจับตัวเป็นหยดน้ำไหลลงสู่พื้นดิน ทำให้ต้นไม้สามารถเจริญงอกงามได้และเป็นแนวคิดที่ได้ถูกนำมาใช้ในบางประเทศอย่างได้ผล โดยในภูมิประเทศที่เป็นภูเขาและสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500 เมตรขึ้นไปมักจะมีหมอกหนาแน่น ถ้าหากสามารถนำไอน้ำที่มีอยู่ในหมอกมาใช้ได้ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลทางด้านการเกษตรเช่น การปลูกป่า เป็นต้น วิธีการทำเครื่องดักหมอกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 1. ใช้วัสดุท้องถิ่นที่หาได้ง่ายและราคาถูก เช่น ตาข่ายไนล่อน เสื่อลำแพน ถุงปุ๋ยไนล่อน มาเป็นอุปกรณ์ทำเครื่องดักหมอก 2. สร้างแผงขึงด้วยวัสดุดังกล่าวดักไอน้ำจากหมอก โดยวางให้ตั้งฉากกับทิศทางลมพัดซึ่งจะทำให้ดักหมอกได้ในอัตราสูง 3. ในบางกรณีอาจสร้างขึ้นได้หลายรูปแบบตาม

โครงการกังหันชัยพัฒนา

รูปภาพ
กังหันชัยพัฒนา เป็น สิ่งประดิษฐ์เพื่อบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ กังหันชัยพัฒนา เป็น กังหันบำบัดน้ำเสีย“สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย” เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำแก่ปวงชนทำงานโดย การหมุนปั่น เพื่อเติมอากาศให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี สามารถประยุกต์ใช้บำบัดน้ำเสีย จากการอุปโภคของประชาชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มออกซิเจน ให้กับบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร ส่วนประกอบ กังหันชัยพัฒนา เป็น เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย ( สามารถลอยขึ้นลงได้เองตามระดับน้ำ ) ประกอบด้วยซองวิดน้ำ มีใบพัดที่ ออกแบบเป็น ซองตักน้ำรูปสี่เหลี่ยมคางหมูจำนวน ๖ ซองแต่ละซองจะถูกแบ่งออกเป็น ๓ ห้องเท่าๆ กัน ทั้งหมดถูกติดตั้งบนโครงเหล็ก ๑๒ โครงใน ๒ ด้าน มีศูนย์กลางของกังหันที่เรียกว่า " เพลากังหัน " ซึ่งวางตัวอยู่บนตุ๊กตารองรับเพลา ที่ติดตั้งอยู่บนทุ่นลอย และมีระบบขับส่งกำลัง ด้วยเฟืองจานขนาดใหญ่ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด ๒ แรงม้า สำหรับขับเคลื่อนซองน้ำ ให้หมุนรอบเป็นวงกลม อยู่บนโครงเหล็กที่ยึดทุ่นทั้ง ๒ ด้านเข้าไว้ด้วยกันด้านล่างของกังหันในส่วนที่จมน้ำ จะมีแผ่นไฮโดรฟอยล์ยึดปลายของทุ่นลอยด้านล่าง การทำ

โครงการแก้มลิง

รูปภาพ
แก้มลิง เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับพื้นที่หน่วงน้ำ (detension area) เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม มีแนวคิดจากการที่ลิงอมกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มไว้ได้คราวละมากๆ พระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชกระแสอธิบายว่า "ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อนลิงจะทำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวีหรือ เต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อยๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง" มีการวางแผนพื้นที่แก้มลิงอย่างเป็นระบบ โดยหน่วยงานต่างๆ เช่น กทม . กรมชลประทาน เป็นต้น แก้มลิงมี 3 ขนาด จากใหญ่ กลาง เล็ก มีวัตถุประสงค์เพื่อการชะลอน้ำก่อนที่จะจัดการระบายออกในเวลาต่อมาสามารถเป็นได้ทั้งพื้นที่ของรัฐและเอกชน ปัจจุบันมีพื้นที่แก้มลิงขนาดใหญ่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพ เหนือท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยกำหนดในผังการใช้ที่ดินเป็นพื้นที่เขียวลาย ไม่เหมาะกับการพัฒนา นอกจากนี้ยังมีแก้มลิงเล็กใหญ่กระจายอยู่ทั่ว กทม . กว่า 20 จุด อ้างอิง : http://dit.dru.ac.th/ka/a 34. php (กุมภาพันธ์ 2553 )

โครงการแกล้งดิน

รูปภาพ
แกล้งดิน เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว หรือดินเป็นกรด โดยมีการขังน้ำไว้ในพื้นท ี่จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาเคมีทำให้ดินเปรี้ยวจัด จนถึงที่สุด แล้วจึงระบายน้ำออกและปรับสภาพฟื้นฟูดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งดินมีสภาพดีพอที่จะใช้ในการเพาะปลูกได้ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ทรงพบว่า ดินในพื้นที่พรุที่มีการชักน้ำออก เพื่อจะนำที่ดินมาใช้ทำการเกษตรนั้น แปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ผล จึงมีพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุที่มีน้ำแช่ขังตลอดปีให้เกิด ประโยชน์ในทางการเกษตรมากที่สุด และให้คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ด้วย การแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากดินมีลักษณะเป็นเศษอินทรียวัตถุ หรือซากพืชเน่าเปื่อยอยู่ข้างบน และมีระดับความลึก ๑ - ๒ เมตร เป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งมีสารประกอบกำมะถัน ที่เรียกว่า สารประกอบไพไรท์ (Pyrite : FeS2) อยู่มาก ดังนั้น เมื่อดินแห้ง สารไพไรท์จะทำปฏิกิริยากับอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดิน

ความหมายนวัตกรรมและเทคโนโลยี

รูปภาพ
นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง การทำสิ่งใหม่ๆ หรือ ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา มาจาก คำภาษาอังกฤษว่า Innovate มาจากคำว่า Innovare ซึ่งหมายถึง to renew, to modify อาจแปลความหมายได้ว่า ทำใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆเข้ามา (บุญเกื้อ,2543) นอกจากนี้ยังมีนักการศึกษาให้คำนิยามต่างๆไว้ดังนี้ นวัตกรรม หมายถึง การปรับปรุงของเก่าให้ใหม่ขึ้น และพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น นวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการปรับปรุง เสริมแต่ง และพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ (J.A. Morton, 1973) นวัตกรรม หมายถึงวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆขึ้นมา หรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม และสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ได้รับการทดลองพัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ไชยยศ เรืองสุวรรณ 2526 ) ขั้นตอนของการเกิดนวัตกรรม 1. ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น (Invention) 2. ขั้นการพัฒนาการ (Development) หรือขั้นการทดลอง (Pilot Project) 3. ขั้นการนำไปหรือปปฏิบัติจริง (Innovation) เทคโนโลยี (

งานวันเด็ก ปี53